วันที่ 20 เดือนมีนาคม 2562
สำหรับในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นำผลงานของแต่ละกลุ่มมาส่ง
หลังจากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มอธิบายถึงวิธีการเล่นสื่อของแต่ละกลุ่มว่ามีวิธีการเล่นแบบไหน
สำหรับกลุ่มของดิฉันได้ทำสื่อเกี่ยวกับกราฟสถิติความชอบของนักเรียน
โดยสื่อชิ้นนี้สามารถเปลี่ยนหัวข้อกราฟได้
เช่น
อยากได้กราฟความชอบของผลไม้ที่นักเรียนชอบกินก็สามารถเขียนแล้วเอามาแปะได้
ข้างล่างก็มีการสรุปว่านักเรียนชอบอะไรไม่ชอบอะไร
การทำสื่อชิ้นนี้เป็นเรื่องที่ได้สามารถดัดแปลงได้ในการสอนหลายๆเรื่องซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับครูปฐมวัย
สำหรับสื่ออื่นที่เพื่อนได้นำเสนอไปของแต่ละกลุ่มก็มีแต่สื่อที่น่าสนใจ
เช่น สื่อกราฟสถิติการมาเรียน เศษส่วนอย่างง่าย
โดมิโน เป็นต้น
สำหรับการทำสื่อในครั้งนี้ได้เห็นถึงความประหยัดและความคิดสร้างสรรค์การดัดแปลงจากสิ่งของที่ไม่ใช้มาทำสื่อให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า
ต่อมาอาจารย์ให้ดูสื่อที่รุ่นพี่เคยทำสื่อแต่ละอันส่วนมาทำจากแผงไข่เป็นการดัดแปลงได้ดีมาดิฉันได้ดูเกมส์
ปิงโกตกปลา
ซึ่งเล่นแล้วสนุกวิธีการทำก็ไม่อยากแถมยังสามารถสอนคณิตศาสาตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วย
เช่น เด็กได้รู้ตัวเลข 0-9 เด็กมีความสุขสนุกสนานไปกับการเล่น
เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่ร่วมเล่นด้วยกัน
ความรู้เพิ่มเติม
การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำต่อวัตถุ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
การเล่น เป็นวิธีการของเด็กในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการเรียนรู้
วิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
เด็กเกิดการเรียนรู้ เราวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตลอดเวลาเพื่อการอยู่รอด
เด็กไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เรียกว่า การรับรู้
วิธีการเล่นของเด็กสัมพันธ์กับการทำงานของสมองใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ ซึมซับเหมือนฟองน้ำ เช่น กระดาษวาดเขียนสีขาวชุบน้ำหมาดๆ เด็กหยดสีจะกระจาย หยดสีแดงแตกกระจายสอดคล้องเกิดเป็นสีม่วงเกี่ยวข้องกับความรู้เดิมปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
ซึมซับ Assimilation
การปรับและจัดระบบ Accommodation
พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ได้นำการทำงานของสมองมาจัดลำดับให้เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า พัฒนาการ
แรกเกิด - 2ปี Sensori motor stage การใช้ประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
2 - 4ปี การใช้ภาษา อ้อแอ้ เป็นคำๆ
4 - 6ปี ประโยคยาวมากขึ้น
เพิ่มเติม
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
ทฤษฎีการเรียนรู้
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก
กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1.การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2.การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
การคิด
2 - 6ปี มีขั้นอนุรักษ์ เกิดจากตาเห็น สามารถบอกเหตุผลได้เป็นนามธรรม
พัฒนาการทางสติปัญญาทางคณิตศาสตร์ ต้องให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรมก่อนไปนามธรรม
การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำต่อวัตถุ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
การเล่น เป็นวิธีการของเด็กในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการเรียนรู้
วิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
เด็กเกิดการเรียนรู้ เราวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตลอดเวลาเพื่อการอยู่รอด
เด็กไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เรียกว่า การรับรู้
วิธีการเล่นของเด็กสัมพันธ์กับการทำงานของสมองใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ ซึมซับเหมือนฟองน้ำ เช่น กระดาษวาดเขียนสีขาวชุบน้ำหมาดๆ เด็กหยดสีจะกระจาย หยดสีแดงแตกกระจายสอดคล้องเกิดเป็นสีม่วงเกี่ยวข้องกับความรู้เดิมปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
ซึมซับ Assimilation
การปรับและจัดระบบ Accommodation
พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ได้นำการทำงานของสมองมาจัดลำดับให้เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า พัฒนาการ
แรกเกิด - 2ปี Sensori motor stage การใช้ประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
2 - 4ปี การใช้ภาษา อ้อแอ้ เป็นคำๆ
4 - 6ปี ประโยคยาวมากขึ้น
เพิ่มเติม
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
ทฤษฎีการเรียนรู้
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก
กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1.การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2.การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
การคิด
2 - 6ปี มีขั้นอนุรักษ์ เกิดจากตาเห็น สามารถบอกเหตุผลได้เป็นนามธรรม
พัฒนาการทางสติปัญญาทางคณิตศาสตร์ ต้องให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรมก่อนไปนามธรรม
สำหรับในการเรียนการสอนในวันนี้
ประโยชน์ที่ได้คือ ได้รู้ซึ้งถึงคุณค่าและประโยชน์ของการทำสื่อทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น