สรุปบทความ

บทความ เจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
     คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผน แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

            นอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
   
      เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
      การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่
จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
      มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
      สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
      สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
      สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
      สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
     หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านนะคะ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันที่ 24 เดือน เมษายน 2562
วันนี้อาจารย์สอนเรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยพูดเชื่อมโยงเกี่ยวกับคู่มือมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ซึ่งอาจารย์ได้สอนในคาบที่แล้ว
การบ้านสำหรับก่อนสอบ




ซึ่งได้กล่าวถึงทฤษฎีของเพียเจต์
เกี่ยวกับขั้นอนุรักษ์คือเด็กสามารถใช้เหตุผลได้
คณิตศาสตร์คือเครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น
การสอนเด็กเปรียบเทียบของเหลว สามารถเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก
**ก่อนที่เด็กจะเรียงลำดับได้ต้องสอนให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบก่อน
**ทุกครั้งที่ออกแบบกิจกรรมต้องให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองซึ่งเด็กจะได้เห็นภาพ
*อันดับแรกที่จะบอกได้ต้องมีเกณฑ์
สื่อก็จะช่วยในการบอกลำดับเช่น การรวมกันของ 2 กลุ่ม โดยหาวิธีกำหนดการบวก
**ตัวอย่าง บอกเด็กๆว่า เอากลุ่มเด็กผู้ชายผู้หญิงรวมกัน
การลบ เช่น
การแยกไข่เป็ดไข่ไก่ เหลือเท่าไหร่ คำว่า เหลือ บอกถึงการลบ เด็กก็จะได้เห็นภาพและเข้าใจการบวกการลบอย่างแท้จริง
สาระที่ จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1
เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2
เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3
ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4
เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ การวัด
มาตรฐาน ค 2.1
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2
แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1
อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2
ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1
เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2
ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1
เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2
ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3
ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาถึงแม้เนื้อหาจะเข้าใจยาก
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอนทุกครั้งทุกคาบพยายามถามนักศึกษาว่าว่างวันไหนเพื่อที่จะจัดสอนเพิ่มเติ่มซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่นักศึกษามากขอบคุณอาจารย์ที่ทุ่มเทในการสอนทุกครั้ง
 ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน




คำศัพท์💕💙💚💛💜
standard = มาตรฐาน
position = ตำแหน่ง
volume = ปริมาตร
process = กระบวนการ
direction = ทิศทาง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันที่ 19 เดือนเมษายน 2562

สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ให้ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับ คู่มือมาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (สสวท)
โดยดิฉันสรุปได้ดังนี้
ส่วนแรกจะเป็นความสำคัญของคณิตศาสตร์
คือ การพัฒนาส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบตัวส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ยังส่งผลต่อศาสตร์อื่นๆด้วย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ในคณิตศาสตร์จำนวนและการดำเนินการ
**การวัด
**เรขาคณิต
**พีชคณิต
**การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาตร์
สระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิศาสตร์
ในส่วนนี้จะมีเนื้อหารายละเอียดเยอะสามารถดูเพิ่มเติมได้ในลิงค์
Symmetrical axis  :  แกนสมมาตร
Materials  :   สื่อการสอน
Demonstration  :  การสาธิต
Completely : ครบถ้วน


Described  :  การอธิบาย

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
1.สร้างเสริมความสนใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามธรรมชาติของเด็ก
2.สร้างประสบการณ์และความเข้าใจ
3.ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆกัน
4.เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
5.เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจตามลำดับ
6.บูรณาการเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
การวัดและประเมินผล
1.การวัดและประเมินผลต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและควบคู่กับการสอน
2.ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และตัวชี้วัด
3.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
4.ต้องนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตัวเด็ก
5.การวัดและประเมินผลต้องเป็นกระบวนการส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้น

สรุป
การเรียนในวันนี้ทำให้เข้าใจถึงคู่มือมาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง มีความตั้งใจเรียนฟังอาจารย์สอนทุกคาบ
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้อธิบายคู่มืออย่างละเอียดพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นภาพ


ภาพบรรยากาศในห้องเรียน






คำศัพท์
                                                       Symmetrical axis  :  แกนสมมาตร
                                                       Materials  :   สื่อการสอน
                                                       Demonstration  :  การสาธิต
                                                      Completely : ครบถ้วน
                                                     Described  :  การอธิบาย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันที่ 3 เดือนเมษายน 2562
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้เข้าไปดูบล็อคของนักศึกษาแต่ละคนและได้ให้คำแนะนำบล็อคแต่ละคนว่าควรจะเพิ่มเนื้อหาตรงส่วนไหน
จากนั้นอาจารย์ก็ได้ตรวจสื่อที่มอบหมายให้ทำสื่อแต่ละกลุ่มอาจารย์ก็ได้พูดเสริมถึงประโยชน์การทำและวิธีการเล่น
สำหรับในการเรียนการสอนครั้งนี้ได้ทราบถึงประโยชน์ของการทำสื่อและวิธีการทำบล็อคที่ดีและมีประโยชน์สำหรับผู้ที่จะเข้าไปศึกษา


ประเมินตนเอง มีความตั้งใจเรียนทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน เพื่อนมีความตั้งใจในการมาเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องต่างๆ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้คำแนะนำในทุกๆเรื่องดีมาก
     ภาพกิจกรรมในห้องเรียน








คำศัพท์
                                 1.Relationship                                                   ความสัมพันธ์
                                 2.observance                                                     การสังเกต
                                 3.Skills                                                              ทักษะ
                                 4.Creativity                                                        ความคิดสร้างสรรค์
                                 5.Set                                                                   กำหนด
                                 6.Equipment                                                       อุปกรณ์
                                 7.Step                                                                 ขั้นตอน
                                 8.Present                                                            นำเสนอ
                                 9.Number                                                           ตัวเลข

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันที่ 20 เดือนมีนาคม 2562
สำหรับในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นำผลงานของแต่ละกลุ่มมาส่ง
หลังจากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มอธิบายถึงวิธีการเล่นสื่อของแต่ละกลุ่มว่ามีวิธีการเล่นแบบไหน
สำหรับกลุ่มของดิฉันได้ทำสื่อเกี่ยวกับกราฟสถิติความชอบของนักเรียน

โดยสื่อชิ้นนี้สามารถเปลี่ยนหัวข้อกราฟได้
เช่น อยากได้กราฟความชอบของผลไม้ที่นักเรียนชอบกินก็สามารถเขียนแล้วเอามาแปะได้
ข้างล่างก็มีการสรุปว่านักเรียนชอบอะไรไม่ชอบอะไร
การทำสื่อชิ้นนี้เป็นเรื่องที่ได้สามารถดัดแปลงได้ในการสอนหลายๆเรื่องซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับครูปฐมวัย
สำหรับสื่ออื่นที่เพื่อนได้นำเสนอไปของแต่ละกลุ่มก็มีแต่สื่อที่น่าสนใจ เช่น สื่อกราฟสถิติการมาเรียน เศษส่วนอย่างง่าย
โดมิโน เป็นต้น สำหรับการทำสื่อในครั้งนี้ได้เห็นถึงความประหยัดและความคิดสร้างสรรค์การดัดแปลงจากสิ่งของที่ไม่ใช้มาทำสื่อให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า
ต่อมาอาจารย์ให้ดูสื่อที่รุ่นพี่เคยทำสื่อแต่ละอันส่วนมาทำจากแผงไข่เป็นการดัดแปลงได้ดีมาดิฉันได้ดูเกมส์ ปิงโกตกปลา ซึ่งเล่นแล้วสนุกวิธีการทำก็ไม่อยากแถมยังสามารถสอนคณิตศาสาตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วย เช่น เด็กได้รู้ตัวเลข 0-9 เด็กมีความสุขสนุกสนานไปกับการเล่น เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่ร่วมเล่นด้วยกัน

ความรู้เพิ่มเติม

📖การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำต่อวัตถุ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
📖การเล่น เป็นวิธีการของเด็กในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการเรียนรู้
📖วิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
📖เด็กเกิดการเรียนรู้ เราวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตลอดเวลาเพื่อการอยู่รอด
📖เด็กไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เรียกว่า การรับรู้
📖วิธีการเล่นของเด็กสัมพันธ์กับการทำงานของสมองใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ ซึมซับเหมือนฟองน้ำ เช่น กระดาษวาดเขียนสีขาวชุบน้ำหมาดๆ เด็กหยดสีจะกระจาย หยดสีแดงแตกกระจายสอดคล้องเกิดเป็นสีม่วงเกี่ยวข้องกับความรู้เดิมปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
📖ซึมซับ 👉Assimilation
📖การปรับและจัดระบบ 👉Accommodation

😊พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ได้นำการทำงานของสมองมาจัดลำดับให้เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า พัฒนาการ
แรกเกิด - 2ปี 👱Sensori motor stage การใช้ประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
2 - 4ปี 👱การใช้ภาษา อ้อแอ้ เป็นคำๆ
4 - 6ปี 👱ประโยคยาวมากขึ้น
เพิ่มเติม

เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง

ทฤษฎีการเรียนรู้
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด

2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง

-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

1.การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2.การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

😊การคิด

2 - 6ปี 👱มีขั้นอนุรักษ์ เกิดจากตาเห็น สามารถบอกเหตุผลได้เป็นนามธรรม

👌👌พัฒนาการทางสติปัญญาทางคณิตศาสตร์ ต้องให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรมก่อนไปนามธรรม


สำหรับในการเรียนการสอนในวันนี้
ประโยชน์ที่ได้คือ ได้รู้ซึ้งถึงคุณค่าและประโยชน์ของการทำสื่อทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง มีความตั้งใจในการมาเรียนทุกครั้งตั้งใจทำงานทำการบ้านที่อาจารย์สั่งทุกชิ้น
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจมาเรียนทุกคนตั้งใจทำสื่อมาส่งทุกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้คำแนะนำดีมากในการทำสื่อเช่นจะทำสื่อยังไงให้ประหยัดงบมากที่สุดทำยังไงถึงเด็กเล่นสื่อแล้วจะมีทักษะมากขึ้นเกิดความคิดมากขึ้น
          ภาพกิจกรรมในห้องเรียน






                                                   คำศัพท์ภาษาอังกฤษวันนี้💙💚💛💜
                                                          finger = นิ้วมือ
                                                       fraction = เศษส่วน
                                                       data = ข้อมูล
                                                      statistics = สถิติ
                                                      interesting = น่าสนใจ

บันทึกการเรียนครั้ง ที่ 7


           บันทึกการเรียนครั้ง ที่ 7

วันที่ 6 มีนาคม 2562


เช้าวันนี้ อ.จินตนา ได้คักเลือกการออกแบบสื่อทางคณิตศาสตร์ของแต่ละคนแล้วหลังจากนั้น อ.จินตนาก็ได้มอบหมายงานกลุ่มให้
โดยแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย และจำนวนสื่อ

อาจารย์ได้ยกตัวอย่างการทำสื่อที่สามารถดัดแปลงมาทำสื่อการสอนอื่นๆได้ดดยการทำสื่อครั้งเดียวคุ้มเลย

งานที่ อ.จินตนาได้มอบให้ดิฉัน คือการทำกราฟจำนวนความชอบของเด็กงานนี้ดิฉันได้ทำเป็นกลุ่ม

ประเมินตนเอง ตนเองมีความตั้งใจมาเรียนทุกครั้งทำงานส่งทุกครั้งที่ อาจารย์สั่งงาน
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียนทุกคนมีความขยันออกสื่อให้ไม่ซ้ำกัน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สามารถยกตัวอย่างสื่อให้เข้าใจง่ายได้รู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการทำสื่อแต่ละชิ้นและการประหยัดสิ่งของสามารถนำสิ่งของที่ไม่ใช้นำมาทำเสนอได้

                                คำศัพท์ 
                                                                       Shape รูปทรง
                                                                       Circle วงกลม
                                                                       Oval วงรี
                                                                    Cylinder ทรงกระบอก
                                                                    Structure โครงสร้าง
                                                                  Creative activities กิจกรรมสร้างสรรค์
                                                                    Design ออกแบบ


สรุปบทความ

บทความ เจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์       คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็น...